
งานฉลองศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากงทรงวาด 200 ปี อย่างยิ่งใหญ่ ร่วมเฉลิมฉลองสัมพันธ์ไทย-จีน 50 ปี พร้อมอัญเชิญองค์เล่าปุนเถ้ากงแห่ไปตามถนนเยาวราชอวยพรชาวชุมชน
พิธีฉลองศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากงทรงวาด 200 ปี มีกำหนดการจัดขึ้นในวันที่ 1-3 มี.ค.68 โดยวันที่ 1 มี.ค. เวลา09.00 น.จะมีขบวนแห่องค์เล่าปุนเถ้ากง ไปตามเส้นทางถนนเยาวราช ถนนราชวงศ์ และถนนทรงวาด เริ่มจากซุ้มประตูโอเดียน มูลนิธิเทียนฟ้า แยกเฉลิมบุรี ตลาดเก่าและแยกราชวงศ์จนถึงศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง รวมระยะทาง 2.4 กม. เพื่ออวยพรให้กับชาวชุมชน
โดยมีนายชิม ชินวิริยกุล ประธานจัดงาน พ.ต.อ.โกวิทย์ จิรชนานนท์ ประธานดำเนินการ นายสมชาย พิพัฒนนันท์ ประธานฝ่ายอำนวยการ พร้อมด้วย คณะกรรมการการสมาคมฯ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายชัยวัฒน์ รังษีภโนดร ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.จักรวรรดิ สน.พลับพลาไชย1-2 กลุ่มนักธุรกิจและชาวชุมชนทรงวาด
นอกจากนี้ คณะผู้จัดงานจะจัดงานเฉลิมฉลองไปตลอดทั้งปี ทุกวันอาทิตย์ โดยประชาชนสามารถร่วมสักการะองค์เล่าปุนเถ้ากง และชมการแสดงจากคณะสิงโตนครสวรรค์ การแสดงงิ้ว ฯลฯ ซึ่งปีนี้เป็นการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่เพื่อร่วมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 50 ปี ไทย-จีน
ทั้งนี้ในปีนี้สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทยยังได้จัดทำเหรียญงานฉลองศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากงทรงวาด 200 ปีโดยภายในงานจะนำไปแจกให้กับผู้เข้าร่วมงานด้วย.
ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้า
ศาลเจ้าเล่าปูนเถ้ากงแห่งนี้เกิดจากความศรัทธา และความเชื่อของชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ขึ้นเรือที่ท่าน้ำทรงวาด ซี่งแต่เดิมเป็นท่านัำที่ใช้ในการขนส่งสินค้า และมีกาติดต่อกัวชาวต่างประเทศจำนวนมาก ชาวจีนที่อพยพมาต้องการกำลังใจในการทำงานในสถานที่ที่ไม่ใช้บ้านเกิดของตนเอง จึงได้ตั้งศาลเจ้าเพื่อเป็นที่เคารพบูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ขอให้อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองในการดำเนินชีวิตประจำวันและทำกิจการค้า โดยเฉพาะชาวจีนแต้จิ๋ว ทั้งนี้เนื่องจากการเดินทางออกจากประเทศจีนในสมัยก่อนได้รับความลำบากมาก ดังนั้นการนับถือเทพ เพราะเชื่อว่าเทพคุ้มครองและช่วยเหลือเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคหรือปัญหาทำให้ตนมีความปลอดภัยประสบความสำเร็จในการทำงาน จึงเปรียบเสมือนกำลังใจที่ทำให้เกิดความมุมานะและอดทนต่ออุปสรรคในการปฎิยัติงาน ปรากฎหลักฐานซึ่งเป็นระฆังใบใหญ่ในศาลเจ้ามีตัวอักษรจีนจารึกไว้าว่าสร้างในปีที่ 4 ของกษัตริย์เต้ากวงแห่งราชวงค์ชิงประมาณปี พ.ศ.2367 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรีของไทย
จากแผนที่ไฟไหม้ตำบลสำเพ็งวันที่ 4 เมษายน 2499 แสดงให้เห็นว่า แต่เดิมศาลเจ้าตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของศาลปัจจุบัน























